วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปบทที่ 11 การยศาสตร์



การยศาสตร์ คือ กฏของงานซึ่งเป็นศาสตร์หรือวิชาการที่เป็นการปรับเปลี่ยนสภาพงานให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงาน

มาตรฐานและการออกแบบสถานีงานที่ใช้คอมพิวเตอร์
  ท่าทางที่สามารถก่อให้เกิดอันตราย ได้แก่ การโน้มตัวไปข้างหน้า การยืดแขนมากเกินไป การนั่งเก้าอี้ต่ำหรือสูงเกินไป
การวัดสัดส่วนร่างกายสำหรับการออกแบบสถานีทำงานการออกแบบสถานีงานต้องพิจารณาจากสัดส่วนร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน

การจัดสุขภาวะให้เหมาะแก่การทำงาน
1.เมื่ออยู่ในท่าทำงานสามารถตั้งศีรษะได้ตรง
2.สายตามองไปด้านหน้าได้สะดวก จอภาพอยู่ต่ำเล็กน้อยกว่าระดับสายตา
3.กล้ามเนื้อไหล่ผ่อนคลาย
4.มือทั้งสองข้างอยู่ในแนวเดียวกันกับแขน
5.หลังตั้งตรงพอดีกับที่พักหลัง
6.เอกสารอยู่ในตำแหน่งที่ง่ายต่อการมอง
7.เท้าทั้งสองข้างสามารถวางได้พอดี

การจัดแสงสว่างในการทำงานกับคอมพิวเตอร์
1.ความสว่างเหมาะสมกับลักษณะงาน
2.การเลือกชนิดของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น หลอดไฟ
3.ปรับตำแหน่งของจอภาพให้อยู่ในแนวขนาน
4.อัตราส่วนระหว่างระยะห่างของโคมไฟ

ปัญหาสุขภาพ : ความผิดปกติของผิวตา เกิดจากแสงสว่างที่มากหรือน้อยเกินไป , การปรับโฟกัส เกิดได้จากขนาดของตัวหนังสือ , การจัดวางคอมพิวเตอร์ เช่น ระยะห่างตากับจอภาพ

แนวทางการแก้ไข  
1.สถานที่ทำงาน (ควรใช้จอแบบเพื่อลดการสะท้อนแสง , ปรับความสว่างและตวามแตกต่างของสี , เลือกใช้ตัวอักษรเข้มบนพื้นจอสีอ่อน , จัดจอภาพให้มีระยะห่างจากตา)
2.แสงสว่าง ไม่ควรอยู่ด้านหน้าและด้านหลังควรอยู่ด้านข้างจอภาพ
3.การพักสายตา ควรหยุดทำงานและลุกขึ้นเดิน
4.การปรับพฤติกรรมการใช้สายตา การนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อตา

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อเรื้อรัง
1.ท่านั่งทำงานไม่เหมาะสม
2.กล้ามเนื้อมีการทำงานมากเกินไป
3.ขาดการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง

เคล็ดลับป้องกันโรคจากคอมพิวเตอร์
การปรับแต่งสภาพแวดล้อม
1.คีย์บอร์ด ตรวจสอบว่าคีย์บอร์ดของคุณว่าอยู่ในระดับที่แขนเหมาะสมหรือเปล่า  ต้องมั่นใจว่าข้อศอกอยู่ในมุมที่เปิด90องศา  ตำแหน่งที่นั่งต้องอยู่ตรงกลางคีย์บอร์ด
2.จอคอมพิวเตอร์  ควรปรับแสงสว่างจอภาพให้พอดี  ปรับหน้าจอให้แหงนขึ้นเรียบร้อย 
3.เก้าอี้ เบาะเก้าอี้ไม่ควรแหงนขึ้น 
4.แสง โคมไฟบนโต๊ะทำงานควรใช้แสงสีขาว  หลอดไฟควรมีแสงสว่างในโทนเดียวกัน  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น